วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เหตุผลที่ชอบบทความของกลุ่ม (กลุ่ม 5)

           เหตุผลที่ชอบบทความ " ถนอมดวงตาด้วยวิธีง่ายๆ "

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการมองเห็น และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ บนโลก ดวงตานั้นมีความอ่อนโยน และบอบบาง จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการดูแลรักษาเป็นพิเศษ

กรณีที่ใช้สายตานาน ๆ เช่น อ่านหนังสือ ก็ควรหาช่วงพักผ่อนสายตา บริหารดวงตา โดยการกรอกลูกตาไปมาเป็นวงกลม เริ่มจากตามเข็มนาฬิกาครบหนึ่งรอบ แล้วกรอกทวนเข็มนาฬิกา ทำอย่างนี้ซ้ำ ๆ กัน วันละ 2-3 ครั้ง หรือนอนหงายหรือนั่งหลับตาสักพั    แล้วใช้แตงกวาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ นำมาแปะไว้บนเปลือกตาทั้งสองข้าง    เมื่อลืมตาขึ้นมาจะทำให้ดวงตาดูมีชีวิตชีวาขึ้น



วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จดหมายสมัครงาน



                                                                                                                       139 ม.7 สุขสวัสดิ์   อ.ราษฎร์บูรณะ
                                                                                                                ข. ราษฎร์บูรณะ กทม 10140
22 กุมภาพันธ์ 2556

เรื่อง ของสมัครงานตำแหน่ง พนังงานบัญชี
เรียนผู้จัดการบริษัท ตรีสกุล จำกัด
สิ่งที่ส่งมาด้วย รายละเอียดส่วนตัว จำนวน 1 ฉบับ      
                     
                ดิฉันทราบจากโฆษณาในอินเตอร์เน็ตว่าบริษัทของท่านต้องการรับสมัครพนักงานฝ่ายบัญชี 1 ตำแหน่ง ดิฉันมีความสนใจขอสมัครงานเข้ารับการพิจารณาบรรจุในตำแหน่งดังกล่าว

                 ดิฉันได้ส่งรายละเอียดส่วนตัว ตลอดจนประวัติการศึกษามาพร้อมกับจดหมายฉบับนี้แล้ว ในช่วงที่ศึกษาอยู่ในคณะคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ดิฉันได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของทางคณะและทางมหาวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้มั่นใจว่าจะปฏิบัติงานของท่านได้เป็นอย่างดี

                 ดิฉันพร้อมที่จะให้ท่านสัมภาษณ์รายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม และหวังว่าคงจะได้รับความกรุณาจากท่าน



ขอแสดงความนับถือ
พัทธ์ธีรา    ศรีวิภา

ความกตัญญูกตเวที

กตัญญูกตเวที

กตัญญู หมายถึง บุคคลผู้รู้คุณของคนอื่น   กตเวที หมายถึง บุคคลที่ตอบแทนผู้มีคุณแก่ตน ดังนั้น คำว่า กตัญญูกตเวที จึงหมายถึง การรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง และทำการตอบแทน บุคคลที่มีคุณและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เรานั้นมีมากมายเช่น พ่อแม่ เป็นต้น
พ่อ แม่ เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก เลี้ยงดู ป้องกันและรักษา  ถึงแม้จะประสบความลำบากสักเพียงใดก็ตาม ก็จะไม่ทอดทิ้งลูก กลับคอยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้เกิดแก่ลูก เมื่อมีเหตุสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ เช่นเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย พ่อแม่ก็พยายามทำการรักษา พยาบาลด้วยตัวเอง  หาหมอมารักษาเพื่อให้ลูกปลอดภัย   บางครั้งพ่อแม่ต้องทำงานหนัก เพื่อต้องการให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน มีความรู้ ความฉลาดเท่าทันคนอื่น  เพื่อในอนาคตจะสามารถเติบโตและเลี้ยงดูตัวเองได้
พ่อแม่ ยังมีจิตใจที่ประกอบด้วยคุณธรรม คือ พรหมวิหารธรรม 4 ประการ อันได้แก่ เมตตา ความรักใคร่สนิทสนม   กรุณา ความปรานี สงสารในเมื่อมีความทุกข์เดือดร้อน มุทิตา พลอยยินดีในความสำเร็จของลูกด้วยความจริงใจ และอุเบกขา ความวางเฉยในเมื่อลูกมีการงานทำ สามารถเลี้ยงตนและครอบครัวได้
เมื่อลูกเจริญเติบโตจะต้องทดแทนบุญคุณของพ่อแม่   พ่อแม่บางคนไม่ลำบากยากจนถึงต้องอาศัยลูกเลี้ยงทางกาย  แต่ก็ยังต้องการให้ลูก เลี้ยงทางใจ   เช่น เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่านทำให้ท่านสบายใจ   สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล ไม่สร้างปัญหาต่างๆ เช่นการติดยาเสพติด  การติดการพนัน
ดังนั้น  ลูกๆ ทุกคนต้องหมั่นขยันทำตนให้เจริญด้วยวิชาความรู้และทรัพย์สิน เงินทอง คราวท่านเจ็บไข้ได้ป่วยก็เอาใจใส่รักษาพยาบาล   หมั่นไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ   ช่วยพ่อแม่ทำกิจการงานตามกำลังความสามารถ เพื่อเป็นการฝึกฝนตัวเองไปด้วย   การที่ลูกเอาใจใส่ปรนนิบัติพ่อแม่อย่างดีแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นต้องมีความกตัญญูกตเวทีเป็นหลัก    ถ้าขาดคุณธรรมข้อนี้แล้วก็ไม่สามารถทำได้เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนาจะให้ลูกตนเองปฏิบัติดีแก่ตนเองในอนาคตอย่างไรก็จงปฏิบัติต่อพ่อแม่ของตนอย่างนั้น เพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกต่อไปเพราะพ่อแม่เปรียบเสมือน “คุณครู”  คนแรกของลูกซึ่งเราทุกคนจะต้องรักและเคารพดูแลท่านเป็นอย่างดีที่สุดที่ลูกทุกคนสมควรที่จะกระทำ

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนา


ผู้แต่ง
               สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 

ประวัติผู้แต่ง
               สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น

จุดมุ่งหมายในการแต่ง
                      เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา

ลักษณะคำประพันธ์                                                                      
                     ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ

ความเป็นมา
                      ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41  พระ ราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าว ถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาซึ่งมีสภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันนัก

เรื่องย่อ
                      เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ- สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
                      ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า มิได้มีความแตกต่างกัน แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิ ศักดิ์ และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองท่าน มีแนวความคิดที่คล้ายกัน คือมุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและ ทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน เลย                                    
                     
ข้อคิดที่ได้รับ    
                      1. ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ
                      2. ทำให้ได้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว
                      3. ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์
วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี
          คุณค่าด้านเนื้อหา
          กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
          ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
          เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น
          "...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก"  กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."
          ส่วนสรุป  สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา  ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า
          "ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุค คอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."
          สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
          "เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตน เอง"

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทความที่น่าสนใจ (นิยามความสำเร็จของนิ้วกลม)

ยิ้มให้บ่อยที่สุด หมายถึงยิ้มให้ตัวเอง และให้คนอื่น
ตื่นเช้าๆ นอนดึกสักหน่อย จะได้มีเวลาดูโลกมากๆ
เห็นโลกให้มากที่สุด นั่นหมายถึงเดินเล่นดูโลกเยอะๆ
ไม่ต้องกินทุกสิ่งที่อร่อย แต่น่าจะอร่อยกับทุกสิ่งที่กิน
ไม่ต้องรักทุกคน ไม่ต้องทำให้ทุกคนรัก แค่มีบางคนที่รักกันจริงๆ
หายใจในจังหวะที่พอดี ไม่ถี่ ไม่เนือยจนเกินไป
ได้อยู่กับครอบครัว ปล่อยมุกให้เขาฮา และฮามุกของเขา
สะสมปัญญา ไม่ใช่เพราะอยากฉลาด แต่จะได้ไม่ทุกข์
เข้าใจโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน เข้าใจมันอย่างที่มันเป็น
ในโลกมีคน เข้าใจโลกหมายถึงเข้าใจผู้คนด้วย
โกรธให้น้อย ชีวิตสั้น โกรธกันมันเสียเวลา
ดื่มน้ำให้มาก นั่นหมายถึงน้ำทุกประเภท
บางวันโค้กก็อร่อย บางวันก็โออิชิ บางวันก็ชาอู่หลง
เกิดมาตั้งนาน จะดื่มน้ำอย่างเดียวมันเศร้าไปหน่อย
แต่ไม่น่าดื่มอะไรซ้ำๆ กันนานๆ เดี๋ยวจะหวานหรือจืดเกิน
แต่น้ำไม่ใช่คน คนไม่ได้มีไว้ดื่ม และคนหนึ่งคนก็มีหลายรสชาติ
คบคนจำนวนมาก หากดูแลใส่ใจเขาได้
หากไม่ไหว น้อยไว้อาจจะดีกว่า

เลือกบทความนี้เพราะ เขาสอนเราให้มองโลกในแง่ที่ดีๆ ใช้เวลาทุกนาทีให้มีค่า ให้เราควรจะมองโลกในหลายๆแง่ ถ้าเรามองโลกแต่ทางลบเพราะจะทุกข์ใจเอง  ไม่ยึดติดกับอะไรมากเกินไป เราอาจจะผ่านอะไรมามากมายถ้ามันทำให้เราทุกข์ใจเราก็ไม่ควรยึดติดกับสิ่งนั้น ควรที่จะเลือกทำวันนี้ให้ดีที่สุด 

 ที่มาของบทความ
http://www.bunnarak.com/index.php?topic=339.0